หน้าหลัก > สาระน่ารู้วันนี้ > เงินเฟ้อชีวิตติดแกลม ระเบิดเวลาทางการเงิน
เงินเฟ้อชีวิตติดแกลม ระเบิดเวลาทางการเงิน
เงินเฟ้อชีวิตติดแกลม ระเบิดเวลาทางการเงิน
09 Oct, 2024 / By finrwealthbuilder
Images/Blog/TNG6txQ0-เงินเฟ้อVS Lifestyleเฟ้อ.jpg

เงินเฟ้อ VS Lifestyleเฟ้อ อะไรน่ากลัวกว่ากัน❓

พอพูดถึงเรื่องเงินเฟ้อคนส่วนใหญ่ก็จะส่ายหัว เพราะเงินเฟ้อเป็นตัวที่ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น อีกทั้งเงินเฟ้อยังทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการวางแผนการเงินอีกด้วย ทำให้ต้นทุนเงินในการวางแผนการเงินในเรื่องเกษียณใช้ก้อนใหญ่ขึ้น แล้ว Lifestyle เฟ้อน่ากลัวอย่างไรทำไมจึงน่ากลัวกว่าเงินเฟ้อ!!!

ส่วนใหญ่คนที่มีรายได้สูงขึ้น คนที่มีรายได้สูงจะมีกำลังในการจับจ่าย หรือเรียกง่ายๆว่ามีอำนาจในการซื้อสูงยิ่งมีรายได้สูง อำนาจในการจับจ่ายยิ่งสูงขึ้น สิ่งที่อยากได้ก็มักจะซื้อเอามาครอบครองได้ง่าย หรือหาวิธีที่จะเอามาครอบครองได้ง่าย ทำให้หลายๆคนจะมีคำพูดว่า “ของมันต้องมี”มากกว่าของสิ่งนั้นเป็นของที่จำเป็นต้องมี จนหลายๆครั้งก็ไม่ได้ตอบโจทย์ในเรื่องปัจจัย4ที่จำเป็นในชีวิต แต่กลับซื้อเพราะคนที่อยู่ในระดับเดียวกับเราเค้ามีกัน ซึ่งของที่อาจจะไม่จำเป็นเหล่านั้นมักจะมีราคาสูง หรือคนขายสามารถกำหนดราคาได้สูงมากกว่าราคาพื้นฐานได้ แล้วคนซื้อมักตัดสินใจในการซื้อมาครอบครองด้วยเหตุผลทางอารมณ์เป็นหลัก

คนกลุ่มนี้มักจะมีเครดิตในการซื้อสินค้าได้มากเนื่องจากมีรายได้สูงทำให้มีสามารถทำบัตรเครดิตที่มีวงเงินจับจ่ายได้สูงหรือมีฐานรายได้ที่สูงทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน นี่จึงเป็นกับดักสำคัญที่เป็นหลุมพลางขนาดใหญ่ที่หลายคนตกไปแล้วยากจะขึ้นมาได้ ถึงแม้จะมีรายได้สูงก็ตาม

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะLifestyleที่ฟุ้งเฟ้อนั้นต้องจ่ายด้วยการเป็นหนี้บัตรเครดิตหรือดอกเบี้ยที่สูงมาก หากตกไปในกับดักเหล่านั้นไปแล้ว ลองนึกภาพดูว่าสิ่งที่เราอยากได้ อยากมี หรือคนอื่นเค้าก็มีกัน แล้วเรามีอำนาจในการซื้อ สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำกันคือ การ”รูดปรื๊ดๆ”แล้วได้ของสิ่งนั้นมาเชยชมได้ทันที พอหลายๆชิ้นเข้ารายได้ที่มีไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไป สิ่งที่ตามมาคือดอกเบี้ยของบัตรเครดิตที่สูงถึง16%ยิ่งผ่อนขั้นต่ำก็ทำให้เงินทบเป็นหนี้สินก้อนใหญ่ขึ้น ยังจะมีเบี้ยปรับเงินผิดนัดชำระอีก ยังไม่รวมภาระอื่นที่ต้องชำระเช่น บ้าน รถ ที่เราต้องมีให้สมฐานะอีก ส่วนใหญ่คนที่มีรายได้สูงมักจะมีหนี้สินสูงเป็นเงาตามตัวเช่นกัน เห็นไหมว่าเงินเฟ้อ(Inflation)โดยรวมส่วนใหญ่จะอยู่ที่3-5% แต่เงินเฟ้อจากการมีมาตรฐานชีวิต (Lifestyle Inflation)อาจจะสูงมากกว่า 16%เลยทีเดียว

แล้วจะทำอย่างไรหล่ะหากติดกับดักนี้ไปแล้ว!!!

เริ่มต้นต้องกลับมาพิจารณาอย่างจริงจังก่อนว่าปัญหานี้เราจะแก้อย่างจริงจังใช่ไหม หากใช่ เราคงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติของการใช้เงินก่อนเป็นอันดับแรกว่า

1. ของที่เราจะซื้อนั้นเป็นของที่จำเป็นต้องใช้จริงๆและเป็นประโยชน์ คิดถึงคุณสมบัติและคุณภาพของของที่เราจะซื้อก่อนซื้อทุกครั้ง

2. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อจะดูว่ารูรั่วของเงินเราไปอยู่ตรงไหน อันไหนจะปรับหรือลงได้บ้าง

3. จัดสรรเงินก่อนใช้ให้อยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ในแต่ละอย่างเพื่อที่จะมีเงินออมหรือสภาพคล่องให้ได้

4. พยายามรวมหนี้ให้อยู่เป็นก้อนเดียว หรือเจรจากับแบงค์เพื่อหาทางให้มาอยู่เป็นก้อนเดียวกันจะได้ง่ายในการจัดการ

5. หาแหล่งเงินทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ แต่ไม่ใช่ให้เอามาใช้นะ แต่เพื่อเอามาจัดการกับหนี้ก้อนที่มีดอกเบี้ยสูง (บางบริษัทมีแหล่งเงินกู้ที่ให้พนักงานกู้ได้ในอัตราไม่สูงมาก หรือบางธนาคารมีโครงการให้ปรับโครงสร้างหนี้ ,Refinance )

6. พุดคุยกับครอบครัว หรือคู่สมรสให้เห็นถึงปัญหาและหาทางออกร่วมกัน

7. จัดการสินทรัพย์หรือของที่ไม่ได้ใช้ให้ได้เงินกลับมาเพื่อจะได้มี Cash flow กลับมาได้

สิ่งที่ยากของการจัดการปัญหานี้คือ การที่ต้องเปลี่ยนLifestyle ที่เป็นอยู่ให้คุณภาพชีวิต และมาตรฐานการใช้ชีวิตที่ไม่ทำให้อึดอัดจนเกินไปพร้อมกับแก้ปัญหาไปได้ด้วย ดังนั้นการวางแผนการเงินที่ได้แล้วเงินที่จะใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ การซื้อของที่ชอบ ที่อยากได้ ไม่ใช่เรื่องผิดหากเราจัดสรรงบการเงินไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช้เกินความจำเป็นก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขไปกับ มาตรฐานชีวิตและอนาคตไปพร้อมๆกัน

อีกประการที่สำคัญคือหลายๆคนยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน หรือจัดสรรอย่างไร อันนี้แนะนำว่าอยากให้ปรึกษานักวางแผนการเงินมืออาชีพ ที่จะให้คำแนะนำที่เหมาะสม ชี้ปัญหาและช่วยหาทางออกให้ เสมือนมีเพื่อนที่คอยช่วยพยุงในวันที่เรายังไม่เข้มแข็งพอ

👉🏻อยากปรึกษาการวางแผนการเงินหรืออยากเป็นที่ปรึกษาทางการเงินกดตามลิ้งค์ได้เลยค่าา 👇🏻

แอดไลน์ https://lin.ee/Pcz69g0

https://www.finrwealthbuilder.com/ หรือ 065-9138620

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป