หน้าหลัก > สาระน่ารู้วันนี้ > ผ่าวิกฤติการเงินได้อย่างไร💵
ผ่าวิกฤติการเงินได้อย่างไร💵
ผ่าวิกฤติการเงินได้อย่างไร💵
06 Nov, 2024 / By finrwealthbuilder
Images/Blog/8R7b96Ae-LINE_ALBUM_เว็บ_240212_33.jpg

ผ่าวิกฤติการเงินได้อย่างไร💵

🔶จากวิกฤติการเงินที่มีข่าว แบงค์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา หรือยุโรปล้ม และอาจจะมีหลายๆที่ตามมา สิ่งสำคัญจะเกิดผลกระทบอะไรกับประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน และเราในฐานะผู้ลงทุน หรือ มีเงินฝาก เงินเก็บจะมีผลกระทบอะไรบ้าง

จากเหตุผลที่ทำให้ แบงค์บางแบงค์ในอเมริกาล้ม เกิดจากสินทรัพย์ที่เราคิดว่ามีความเสี่ยงน้อยคือพันธบัตรรัฐบาลที่เราๆคิดว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุดแล้วกลับกลายเป็นสาเหตุที่ทำแบงค์ล้มได้ ดังนั้นไม่มีสินทรัพย์อะไรที่ปลอดภัยที่สุด

เราเลยจะแนะนำวิธีรอดในภาวะวิกฤติด้วยเทคนิคง่ายๆที่ทำกันได้ และเป็นพื้นฐานเบสิกที่ช่วยได้ทุกสถานการณ์

🔶จัดพอร์ตการลงทุน ( Port Allocation )วิธีการนี้ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนก็ยังใช้เครื่องมือทางการเงินนี้ได้อยู่ เป็นการกระจายความเสี่ยงตามความเสี่ยงที่ตัวเราเองรับได้จริงๆ ตามสินทรัพย์แต่ละชนิด เช่น เงินออม,พันธบัตรรัฐบาล,กองทุนตราสารหนี้,กองทุนรวมตราสารทุน,รวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆก็ต้องจัดพอร์ตการลงทุนเช่นกัน ไม่มาก หรือน้อยเกินไป สินทรัพย์ทุกตัวจะมีขึ้นมีลง ไม่มีสินทรัพย์ไหนตกตลอดไป ในทำนองเดียวกันก็ไม่มีสินทรัพย์ไหนขึ้นตลอด การกระจายการลงทุนไม่ได้เพื่อให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่เป็นการกระจายความเสี่ยงนั่นเอง

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรจะจัดพอร์ตของเราได้อย่างไร ง่ายที่สุดคือการทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยง(KYC)ที่หาแบบทดสอบได้ไม่ยาก เราจะได้ประเมินว่าเรารับความเสี่ยงได้ขนาดไหนจะได้เลือกสินทรัพย์ได้ตามความเสี่ยงของเราจริงๆ

🔶เงินสำรองฉุกเฉิน ( Emergency cash ) เป็นเงินที่สำคัญที่สุดที่ต้องมีไว้เพื่อเวลาที่จำเป็นจะได้ไม่เดือดร้อน หรือมีเงินสำรองไว้ เมื่อเวลามีสินทรัพย์ที่น่าสนใจก็สามารถซื้อในราคาที่ย่อมเยาว์ได้

🔶ดังนั้นเงินสำรองฉุกเฉินจะใช้ตามวัตถุประสงค์คือฉุกเฉินจริงๆ ควรจะมีสำรองไว้ประมาณ 3-6เดือนของค่าใช้จ่ายต่อเดือน แล้วอาจจะเตรียมเงินสำรองไว้เพื่อซื้อทรัพย์สินที่ราคาถูกกว่า value เก็บไว้ได้

🔶อย่างไรก็ตามเครื่องมือทางการเงิน2อย่างนี้ใช้ได้แบบไม่มีOUTเลย ไม่ว่าจะสถานะการณ์ไหนพื้นฐานทั้ง2สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นต้องตระหนักไว้อยู่เสมอ

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป