หลายๆคนที่เริ่มเรียนรู้การลงทุน หรือจะซื้อกองทุน หรือหุ้นต่างๆ จะได้ใบประเมินก่อนการลงทุนที่เรียกว่า KYC ( Know your customer)ก็จะมีความงงๆอยู่บ้างว่า ทำ KYCแล้วได้ประอะไรบ้าง ทำไปเพื่ออะไร ซึ่งตัว KYC เป็นประโยชน์มาก เพราะทำให้เรารู้ว่าตัวเรานั้นรับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน เพื่อจะได้ทราบว่าเราควรลงทุนแบบไหน อยู่ในกองทุนแบบไหน สัดส่วนที่ลงทุนเป็นเท่าไหร่ เหมือนกับเป็น Roadmap พื้นฐานให้ทราบว่าควรลงทุนแบบไหนดี จากนั้นจะเป็นการจัดลำดับสินทรัพย์หรือกองทุน ( Asset Class ) ระดับไหนที่ผู้ลงทุนควรลงทุน ซึ่งก็ไม่ควรลงทุนมากกว่าความเสี่ยงที่รับได้ เช่นเรารับความเสี่ยงได้ในระดับ 6 หมายถึงเราควรลงทุนในสินทรัพย์ในความเสี่ยงไม่เกิน6 คือสูงสุดไม่ควรลงทุนในกองทุนรวม ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่าสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำจะไม่เสี่ยงเลย ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่านั่นเอง ถ้าสังเกตจะเห็นว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำนั้น จะตามมาด้วยระยะเวลาในการลงทุนที่สั้นด้วย แต่ความเสี่ยงนั้นไม่ได้น่ากลัวไปหากเราเข้าใจ ว่าความเสี่ยงคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริงเบี่ยงเบนไปจากอัตราผลตอบแทนที่ได้คาดหวังไว้ ทั้งกำไร และขาดทุนด้วย เห็นไหมว่ามีทั้งได้ผลกำไร และ ขาดทุนด้วยเช่นกัน แต่ก็ตามมาด้วยระยะเวลา ถ้ามีระยะเวลาที่นานพอก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ได้ ลองว่าดูว่าสินทรัพย์ที่อยู่ในแต่ละ Assets class ว่ามีอะไรบ้าง ตามลำดับความเสี่ยงจากน้อยไปหามาก ระดับ 1 ตั๊วเงินคลัง เงินฝาก ตราสารหนี้=>เงินฝาก ตั๊วเงินคลัง ตราสารหนี้ระยะสั้น กลุ่มเหล่านี้จะมีอายุไม่เกิน 1ปี กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพักเงินหรือไม่ต้องการสูญเสียเงินต้น ระดับ2 กองทุนรวมตลาดเงิน=>ตราสารหนี้ระยะสั้นต่างประเทศ มีอายุไม่เกิน 1ปี กลุ่มนี้ เหมาะกับคนที่ต้องการพักเงิน และรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ ระดับ 3 กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล=>พันธบัตรรัฐบาล อายุ 1ปีขึ้นไป เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้ไม่มากและไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนสูง ระดับ 4 กองทุนรวมตราสารหนี้=>เป็นประเภท หุ้นกู้บริษัทเอกชน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอ ระดับ 5 กองทุนรวมผสม=>เป็นการผสมทั้งเงินฝาก ตราสารหนี้และทุน ซึ่งเป็นการกระจายการลงทุน เหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง และต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น ระดับ 6 กองทุนรวมตราสารทุน=>เป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ จะอยู่ในกลุ่มตราสารทุน เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนในหุ้นแต่ไม่มีเวลาในการดูแล ระดับ 7 กองทุนรวมอุตสาหกรรม=>เป็นการลงทุนสนกลุ่มธุรกิจเฉพาะกลุ่มเดียว เช่น สื่อสาร หรือธนาคารเป็นต้น ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนเป็นกลุ่มธุรกิจ ดังนั้นจะต้องเข้าใจและมีความรู้เป็นอย่างดี ระดับ 8 กองทุนรวมตราสารทางเลือก=>เป็นสินทรัพย์เฉพาะกลุ่มแบบเจาะจง เช่นน้ำมัน ทองคำเป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนและมีความชำนาญในสินทรัพย์นั้นๆ เพราะถือเป็นความเสี่ยงสูงสุด ผู้ลงทุนต้องมีความรู้และสามารถรับความเสี่ยงสูงได้จริงๆ พอทราบว่าระดับความเสี่ยงของแต่ละกองทุนและรายละเอียดว่าแต่ละกองเหมาะกับใครแล้ว เราเวลาจะเลือกกองทุนแต่ละกองยังไงให้เหมาะกับเราดี ดังนั้นอยากให้จับหลักง่ายๆคือ 2R 2S 2F * Return ผลตอบแทนย้อนหลัวสม่ำเสมอ หรือผลตอบแทนย้อนหลังตรงกับเป้าหมายที่ต้องการลงทุน * Risk ความผันผวนไม่สูงกว่าที่ผู้ลงทุนรับได้ อย่าเห็นแก่ผลตอบแทนอย่างเดียว * Style เลือกที่ชอบเหมาะกับตัวเอง * Selection เลือกที่ใช่ ไม่ตามกระแสอย่างเดียวแต่เลือกที่เหมาะกับตัวเองดีกว่า * Fee ค่าธรรมเนียมมีผลกับการลงทุน ถึงจะเลือกกองที่ได้ผลตอบแทนสูงค่าธรรมเนียมก็สูงตามต้องประเมินว่าคุ้มค่าที่จะลงไหมเพราะยังไม่รู้ว่าได้กำไรเท่าไหร่แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมไปก่อนแล้ว * Fund Manager ผู้จัดการกองทุนมีผลกับการเติบโตและนโยบายการลงทุนด้วยบางกองเปลี่ยนผู้จัดการกองทุนแล้วประสิทธิภาพของกองก็จะเปลี่ยนไป เห็นไหมว่าหากเราเรียนรู้ ศึกษาเรื่องการลงทุน เราก็จะมีโอกาสที่วางเงินไว้ได้ถูกที่และมีโอกาสที่เงินเราจะเติบโตได้ที่สำคัญคือบริหารความเสี่ยงให้เหมาะกับตัวเราได้ด้วย หรือหากยังไม่แน่ใจ จะปรึกษาที่ปรึกษาการเงิน ที่สามารถช่วยดูเรื่องการลงทุนให้เหมาะสมกับเราจริงๆได้ดีกว่าซื้อตามกระแสหรือตามคำแนะนำของ saleเพียงอย่างเดียว อีกทั้งที่ปรึกษาการเงินจะช่วยประเมินเป้าหมายการเงินในแต่ละด้านให้เหมาะสมกับผู้ลงทุนตามความเหมาะสมจริงๆด้วย อยากปรึกษาการวางแผนการเงินหรืออยากเป็นที่ปรึกษาทางการเงินกดตามลิ้งค์ได้เลยค่าา แอดไลน์ https://lin.ee/Pcz69g0 https://www.finrwealthbuilder.com/ หรือ 02-0652550