เมื่อเงินเฟ้อไทย พุ่ง 7.66% ควรเตรียมตัวอย่างไร
06 Jul, 2022 / By
finrwealthbuilder
วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทย (CPI) เงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 107.58 สูงขึ้น 1.40% เมื่อเทียบจากเดือนที่ผ่านมา และสูงขึ้น 7.66% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการสูงขึ้นต่อเนื่อง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาพลังงานเป็นส่วนใหญ่และยังคงมีราคาสูงขึ้น ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ซึ่งมีสัดส่วน 61.83% ที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อขยายตัว
.
หลายๆคนอ่านแล้วก็คงจะทราบกันดีว่า สินค้าบริการจะต้องมีราคาที่สูงขึ้น เพราะต้นทุนที่แพงขึ้น ในฐานะผู้บริโภคอย่างเราต้องรับมืออย่างไร
.
3 สิ่งที่ทำได้ง่าย และทำได้เลย
1. วางแผนการใช้จ่าย
จดรายการค่าใช้จ่าย โดยแยกค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าช้อปปิ้ง ค่าน้ำมันลด ค่าอุปโภคบริโภคฯลฯ ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อลดต้นทุนในแต่ละวัน เช่น การใช้รถโดยสารสาธารณะ ทำอาหารกินเอง เปิดเครื่องปรับอากาศเบอร์ห้า
2. หาอาชีพเสริม
เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น รายจ่ายในแต่ละวันเพิ่มสูงตามไปด้วย รายได้ที่มีอยู่เท่าเดิมก็ไม่พอต่อการใช้จ่าย การมีอาชีพเสริมจึงเป็นช่องทางการเพิ่มรายได้อย่างดี แล้วอาชีพเสริมอะไรที่จะทำ? ให้เราคิดว่าเราชอบทำอะไร และทำอะไรได้ดี
3. วางแผนการออม
สุดท้ายแล้วเมื่อรายจ่ายลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น การออมเงินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อเราออมถูกที่ ไม่ว่าจะเป็นการออมเพื่อเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว หรือการออมเพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ แล้วแบบไหนที่เรียกว่าออมให้ถูกที่? เช่น ลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนเทียบเท่าหรือมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ (การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษา หรือมีที่ปรึกษาทางการเงินให้คำแนะนำ)
อยากปรึกษาแผนการเงินหรืออยากเป็นที่ปรึกษาทางการเงินกดตามลิ้งค์ได้เลยค่าา