หน้าหลัก > สาระน่ารู้วันนี้ > แผนการเงินที่ดี จะเป็นตัวชี้วัดว่าปัจจุบันเราวางแผนการดำเนินชีวิตที่มีรูปแบบของตัวเองอย่างไร
แผนการเงินที่ดี จะเป็นตัวชี้วัดว่าปัจจุบันเราวางแผนการดำเนินชีวิตที่มีรูปแบบของตัวเองอย่างไร
แผนการเงินที่ดี จะเป็นตัวชี้วัดว่าปัจจุบันเราวางแผนการดำเนินชีวิตที่มีรูปแบบของตัวเองอย่างไร
13 Nov, 2024 / By finrwealthbuilder
Images/Blog/zlDlabtg-แผนที่ดี.jpg

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการวางแผนการเงินว่าทำไมจึงต้องวางแผน แล้ววางแผนแล้วดียังไง ส่วนนักวางแผนการเงินก็จะแนะนำให้ดูเรื่องโน่นนี่นั่น เต็มไปหมด จนหลายคนเริ่มสับสนว่าแผนการเงินที่ดี ต้องมีอะไรบ้าง แล้วต้องทำอย่างไร บางครั้งอ่านในบทความต่างๆก็แนะนำแตกต่างกันไป

👉แผนการเงินที่ดี จะเป็นตัวชี้วัดว่าปัจจุบันเราวางแผนการดำเนินชีวิตที่มีรูปแบบของตัวเองอย่างไร ซึ่งการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เป้าหมายของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน จนท้ายที่สุดแล้ว หากเกิดเหตุการณ์ต่างๆที่มีผลกระทบต่อชีวิต ไม่ว่าทางดี หรืออุปสรรคใดๆ เราก็ยังผ่านพ้นไปได้
เรามาดูตัวชี้วัดว่าแผนการเงินเราเข้มแข็ง มีศักยภาพที่จะรองรับสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ดีมากน้อยขนาดไหน

# 1 มีเงินใช้ทั้งปัจจุบัน และยามเกษียณ
หากปัจจุบันเรามีรายรับมากกว่ารายจ่าย หนี้สินเป็นหนี้สินที่ดี อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และหากเป็นหนี้ ก็เป็นหนี้ที่เกิดจากการศึกษา หนี้จากการผ่อนสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่า(ตัวอย่างเช่นบ้าน) แต่ก็ควรอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะไม่มากเกินไป มีเงินเหลือพอที่จะเก็บ ลงทุน ให้งอกเงย ส่งผลไปถึงการประเมิน ค่าใช้จ่ายตอนที่เราไม่ได้ทำงานแล้ว หรือในยามเกษียณว่าต้องใช้จ่ายเท่าไหร่เพียงพอกับชีวิตประจำวันอย่างน้อยขั้นพื้นฐานได้ ก็ถือว่าในส่วนนี้น่าจะผ่าน

# 2 แม้ตกงานก็ยังมีเงินใช้ได้ปกติ
ช่วงตกงาน ว่างงาน รอยต่อของงานเดิมก่อนจะไปเริ่มงานใหม่ หรือมีเหตุจำเป็นต้องพักงานชั่วคราว เช่นตอนที่เกิดสถานะการณ์ COVID -19 ที่ผ่านมา แม้กระทั่งช่วงน้ำท่วมใหญ่ของเมืองไทย สถานะการเหล่านี้ หากเรายังผ่านพ้นไปได้อย่างไม่ต้องกังวล หรือไม่ต้องกังวลมากนักยังมีเงินเพียงพอที่จะใช้ชีวิตไปอย่างปกติได้อันนี้ก็ถือว่าผ่าน
ที่ว่าผ่านนั้นก็เพราะเราได้เตรียมเงินสดสำรอง หรือมีทรัพย์สินเทียบเท่าเงินสดที่เอาไว้ใช้ได้ในยามวิกฤติ อย่างน้อย 3-6เดือนของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้นั่นเอง

# 3 หนี้สินอยู่ในระดับที่เหมาะสม
จากข้อแรกที่เราจะมีเงินใช้ได้ ก็ต้องมีเงินเก็บ และจะมีเงินเก็บได้ก็ต้องจัดสรร โดยเฉพาะเรื่องหนี้สิน หากการเป็นหนี้จากการที่ใช้เงินเกินความสามารถที่หาได้ แล้วมีดอกเบี้ยเพิ่มพูนขึ้นมา ยิ่งปล่อยระยะเวลาไว้นานก็จะยิ่งแก้ยากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นก่อนที่เราจะก่อหนี้ ให้ตระหนักไว้เสมอว่าหนี้ที่เราจะมีนั้น มีประโยชน์ หรือเป็นความอยากได้ในสิ่งที่ยังมีความจำเป็นน้อย ใช้เงินในอนาคต เช่นบัตรเครดิต รูดปรื๊ดๆ
สัดส่วนของการเป็นหนี้ที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 35-40%ของรายได้ หากเกินกว่านี้จะมีปัญหาในการชำระ และทำให้เกิดความเครียดในการดำรงชีวิต
สิ่งน่ากลัวคือการเป็นหนี้นอกระบบ การเป็นหนี้นอกระบบสถาบันการเงินที่ไม่ได้รับการความคุมจะเป็นรอยรั่วทางการเงินใหญ่หลวง อีกทั้งปัจจุบันมีหนี้จากการค้ำประกันก็อีกสิ่งนึงที่ควรระวังเป็นอย่างมาก

# 4 หากเจ็บป่วยไม่กระทบกับเงินออมและไม่เดือดร้อนใคร
เรื่องเจ็บป่วยเป็นอีกเรื่องที่มาแบบไม่คาดฝัน หากเจ็บป่วยแล้วต้องดึงเงินเก็บมากรักษาพยาบาล นั่นจะทำให้แผนอื่นๆที่วางไว้กระทบกันเป็นโดมิโนเลย
การเตรียมตัวที่ดีคือการกลับไปดูสวัสดิการทั้งหมดที่มี ไม่ว่าจะเป็นประกันที่บริษัททำให้กับพนักงาน(ประกันกลุ่ม) ประกันส่วนตัว รวมถึงสวัสดิการภาครัฐด้วย สมมุติเหตุการณ์ว่า ถ้าป่วยขึ้นมาเราจะทำอย่างไร ถ้ามีแผนและงบในการรักษาไว้แล้ว ก็สบายใจ หากยังไม่มี แนะนำว่าควรย้ายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันรับความเสี่ยงแทนเราดีกว่า

# 5 หากวันที่จากไป ไม่ทิ้งภาระให้คนข้างหลัง
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดกับเราทุกคน ไม่ว่าจะยากดีมีจน หรือชนชาติไหนก็ตาม โดยส่วนใหญ่คงไม่มีใครพร้อมที่จะจากไป แต่คงไม่ใครเลือกวันเวลาที่เหมาะสมได้ มักจะมาแบบไม่คาดฝัน ดังนั้น แผนการเงินที่ดีนั้นต้องรองรับทั้งวันที่เราอยู่ และวันที่เราจากไปด้วยเช่นกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เคยวาดฝันไว้กับคนที่เรารัก เช่นลูกสามารถจบการศึกษาอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ ภรรยาไม่ลำบากใช้หนี้แทนเรา คุณพ่อ คุณแม่ไม่ลำบากตอนแก่เป็นต้น

# 6 หากทุพพลภาพไม่เดือดร้อนคนรอบข้าง
สิ่งที่น่ากลัวกว่าความตายคือ มีลมหายใจแต่ขาดความสามารถในการดำรงชีพ นอกจากจะใช้ศักยภาพของตัวเองหารายไม่ได้แล้ว ยังใช้เงินมากกว่าปกติด้วย เช่น ไม่สามารถกินข้าวเองได้ต้องเป็นอาหารทางการแพทย์ เดินทางด้วยตัวเองไม่ได้ หรือบางคนอาจจะนอนแบบไม่รับรู้ ทางการแพทย์จะเรียกว่าภาวะ”ผัก”
ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพสูงกว่าการใช้ชีวิตปกติแน่นอน อีกทั้งยังต้องมีคนมาดูแลเราในวันที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้เรามีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง

👉วิธีการรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวจะมีวิธีการยู่3อย่างคือ

1. ปล่อยเป็นไปตามโชคชะตา ดูแลกันตามมีตามเกิด

2. เตรียมเงินให้เพียงพอ ไว้สำหรับแต่ละเป้าหมาย หากเตรียมได้ก็จะเป็นเรื่องดี แต่คงต้องมีเงินจำนวนมาก ซึ่งการเก็บเงินแบบนี้ก็อาจจะมีทำให้เสียโอกาสในการลงทุนไปเช่นเดียวกัน

3. โอนย้ายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันรับไว้ จะใช้เงินจำนวนน้อย ปกป้องเป้าหมายสำคัญแต่ละด้าน บริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วยเงินก้อนเล็กที่สามารถคำนวนได้ ก็จะเป็นอีกวิธีนึงที่บริหารการเงินที่คนส่วนใหญ่ใช้และได้ประสิทธิภาพสูงมาก

👉ดังนั้นการวางแผนการเงินที่ดี ต้องรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันและไม่กระทบกับแผนการเงินด้านอื่นๆหรือไม่กระทบกับคนรอบข้างนั่นจึงเป็นแผนการเงินที่ดีนั่นเอง
อีกประการสำคัญควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถที่จะแนะนำได้อย่างมืออาชีพก็จะช่วยทำให้การวางแผนการเงินเป็นเรื่องง่ายขึ้น

🔸🔸อยากปรึกษาการวางแผนการเงินหรืออยากเป็นที่ปรึกษาทางการเงินกดตามลิ้งค์ได้เลยค่าา✨✨
แอดไลน์ https://lin.ee/Pcz69g0
https://www.finrwealthbuilder.com/ หรือ 02-0652550

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป