คนที่ทำงานมีรายได้ทุกคน มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปี อันนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องปฎิบัติ ไม่ว่าจะชาติไหนก็ตาม ดังนั้นจะบอกว่าไม่รู้ ไม่ได้ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเรื่องภาษีกันสักเล็กน้อยว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลที่มีเงินได้ ไม่ว่าจะประเภทใด ชนิดใด ถ้าไม่มีกฎหมายให้ยกเว้นให้แล้วก็อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษี ในเมืองไทยการจัดเก็บภาษีในรูปแบบขั้นบันได้คือ มีรายได้มากก็เสียมาก มีเงินได้น้อย หรือมีรายได้น้อยไม่ถึงเกณฑ์ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แต่ก็ยังมีหน้าที่ที่ต้องยื่นแบบการเสียภาษี แล้วทำไมจำนวนเงินที่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ถึงมีจำนวนมากมายขนาดนี้ เราลองมานึกภาพกันว่า ถ้าบุคคลธรรมดาที่ต้องยื่นภาษีประจำปีในแต่ละปีเมื่อสิ้นสุด1ปี( 1มค-31ธค) สรรพากรจะให้เวลาในการยื่นภาษีประจำปี ในแต่ละปีตั้งแต่ 1มค-31มีค ของปีถัดไปสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั่วไป สมมุติว่าเรายื่นช้าเกินกำหนด คือเราทำผิดระเบียบ ก็ต้องมีค่าปรับ ไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีใครจะยื่นภาษีตามกำหนด แต่ แต่ แต่ ถ้าเราไม่ยื่นเลย หลบเลี่ยงภาษี หรือยื่นภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วน เมื่อสรรพากรตรวจพบก็ต้องถูกเรียกสอบ ซึ่งปัจจุบันสรรพากรมีระบบ Big data ตรวจสอบได้ง่ายและแม่นยำมาก จึงมีข้อมูลแบบแน่นปึก ที่สำคัญ สรรพกรมีสิทธิที่จะสอบย้อนหลังข้อมูลไปถึง5ปีทีเดียว ดังนั้นตั้งแต่ปีที่มีรายได้แล้วเราไม่ได้ยื่น ถ้าสรรพากรท่านจะเก็บช่วยเก็บข้อมูลสะสมให้ได้ถึง5ปีทีเดียว ลองมาดูว่าถ้าไม่ยื่น หรือหลีกเลี่ยงการเสียภาษีทรวมถึงข้อมูลการเสียภาษีไม่ถูกต้อง จะมีลอะไรบ้าง 1 เบี้ยปรับ คือเงินที่เราต้องชำระภาษี ตามภาระภาษีที่พึงประเมินได้ แต่ไม่ได้เสียแค่ภาษีเท่านั้น ต้องคูณ 2เท่าของภาษีที่พึงประเมินด้วย ดังนั้นเหมือนเราเสียภาษี3เท่าเลย เช่นภาษีที่พึงประเมินที่ต้องชำระคือ 100,000บาท เมื่อถูกเบี้ยปรับ จะกลายเป็น300,000บาททันที(เริ่มน่ากลัวยังเอ่ย?) 2 เงินเพิ่ม คือต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1.5%ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ หรือ18%ต่อปี ดังนั้นระยะเวลาที่ทางสรรพากรจะดูข้อมูลย้อนหลังได้ถึง5ปี ถ้าถูกเรียกสอบตอนปีท้ายๆดูซิ ตัวเลขไม่น้อยเลยทีเดียว 3 VAT หากกิจการที่เราทำอยู่ไม่อยู่ในข้อยกเว้น หรือเป็นประเภทกิจการที่ได้รับการยกเว้น VAT เมื่อมีรายได้ เกิน 1.8ล้าน(ย้ำว่ารายได้ ไม่ใช่กำไร)ก็เข้าข่ายภาษี VATด้วย ก็จะไปผิดเรื่องภาษี VATอีก จาก 3 ข้อด้านบน จะเริ่มร้องว่า “Oh my God!!!” แล้วใช่ไหม งั้นเราหายตัวไปเลยดีไหม ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ไหม จะบอกว่าการหนี หรือการหลีกเลี่ยงภาษีนั้นมีโทษอาญา โทษทางอาญา ยอมความไม่ได้นะ มีโทษ ทั้งจำ ทั้งปรับ (โทษปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 จำคุกตั้งแต่3เดือน-7ปี ) ถึงเราจะหนีไปไหนโทษทางอาญาก็จะติดตัวเราไป ถึงแม้เสียชีวิตไปแล้ว ภาระหนี้สินทางภาษีไม่หมดตามไปด้วยนะ ทายาท หรือกองมรดก ต้องตามไปชดใช้ ฟังดูแล้วเสียภาษีถูกต้องน่าจะง่ายกว่า การบริหารภาษี ≠ หนีภาษี การบริหารภาษีที่ดีไม่ใช่การหนีภาษี แต่ใช้ช่องทางของกฎหมายที่เปิดช่องให้ใช้สิทธิได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนที่ใช้อยู่เป็นมาตรฐาน หรือค่าลดหย่อนเพิ่มเติมที่ประกาศออกมาในแต่ละปี นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่ทางสรรพากรกำหนดไว้ให้ ดังนั้นวิธีการบริหารภาษีจะช่วยให้เสียภาษีน้อยลงแบบถูกกฎหมาย แล้วเปลี่ยนภาษีเป็นเงินออม น่าจะเป็นทางออกที่ดี ยิ่งคนที่มีกิจการที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น ค้าขาย online หรือ freelance จะมีรายได้มาก มาเป็นกอบเป็นกำ ก็มีการบริหารภาษีได้อีกหลากหลายช่องทางที่นักวางแผนทางการเงิน และวางแผนภาษีจะเข้าไปช่วยดูให้ได้ ถ้าไม่รู้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ดีกว่าที่มีคนบอกว่าช่วยได้ ทำได้ ไม่เคยถูกจับได้ มีบัญชีหลายเล่ม อย่างที่บอก สรรพากรมี Big data รอวันที่จะเชิญเราไปพบได้เสมอ อย่าชะล่าใจ ทำถูกต้องเป็นทางออกที่ดีที่สุด อยากปรึกษาการวางแผนการเงินหรืออยากเป็นที่ปรึกษาทางการเงินกดตามลิ้งค์ได้เลยค่าา แอดไลน์ https://lin.ee/Pcz69g0 https://www.finrwealthbuilder.com/ หรือ 02-0652550